นางสาวกันยกานต์ บุตรศรีสวย เลขที่ 3 ห้อง 2 รหัสนักศึกษา 613150610335
จงหาความหมายของคำว่าการพัฒนาหลักสูตรของนักการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ
สงัด
อุทรานันท์ (2532: 30) กล่าวคำว่า “การพัฒนา” หรือ คำในภาษาอังกฤษว่า “development” มีความหมายที่เด่นชัดอยู่ 2 ลักษณะ คือ
ลักษณะแรก หมายถึง การทำให้ดีขึ้น หรือ ทำให้สมบูรณ์ขึ้น และอีกลักษณะหนึ่ง หมายถึง
ทำให้เกิดขึ้น โดยเหตุนี้ ความหมายของการพัฒนาหลักสูตรจึงอาจมีความหมายได้ 2
ลักษณะเช่นเดียวกัน คือ ความหมายแรก หมายถึง
การทำหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นหรือสมบูรณ์ขึ้น และอีกความหมายหนึ่งก็ คือ
เป็นการสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่ โดยไม่มีหลักสูตรเดิมเป็นพื้นฐานอยู่เลย
นายจิตตวิสุทธิ์
วิมุตติปัญญา กล่าวว่า หลักสูตรเป็นเครื่องมือที่สำคัญของการจัดการศึกษาทุกระดับ
เพราะเป็นตัวกำหนดหรือกรอบของแนวปฏิบัติที่จะทำให้การจัดการเรียนการสอนให้บรรลุจุดมุ่งหมาย
หลักสูตรในฐานะที่เป็นวิชาและเนื้อหาสาระที่จัดให้ผู้เรียน เป็นเอกสาร เป็นกิจกรรม
เป็นมวลประสบการณ์และเป็นจุดมุ่งหมายปลายทางของการจัดการเรียนการสอน
กู๊ด (Good) ได้ให้ความเห็นว่า “ การพัฒนาหลักสูตรเกิดได้ 2 ลักษณะ
คือ การปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงหลักสูตร
การปรับปรุงหลักสูตรเป็นวิธีการพัฒนาหลักสูตรอย่างหนึ่งเพื่อให้เหมาะสมกับโรงเรียนหรือระบบโรงเรียน
จุดมุ่งหมายของการสอน วัสดุอุปกรณ์ วิธีสอน รวมทั้งการประเมินผล
ส่วนคำว่าเปลี่ยนแปลงหลักสูตร หมายถึงการแก้ไขหลักสูตรให้แตกต่างไปจากเดิม
เป็นการสร้างโอกาสทางการเรียนขึ้นใหม่ ”
ทาบา (Taba) ได้กล่าวไว้ว่า “ การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง
การเปลี่ยนแปลงปรับปรุงหลักสูตรอันเดิมให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
ทั้งในด้านการวางจุดมุ่งหมาย การจัดเนื้อหาวิชา การเรียนการสอน การวัดผลประเมินผล
และอื่น ๆ เพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายอันใหม่ที่วางไว้
การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบหรือเปลี่ยนแปลงทั้งหมด
ตั้งแต่จุดมุ่งหมายและวิธีการ
และการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรนี้จะมีผลกระทบกระเทือนทางด้านความคิดและความรู้สึกนึกคิดของผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
ส่วนการปรับปรุงหลักสูตร หมายถึง
การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเพียงบางส่วนโดยไม่เปลี่ยนแปลงแนวคิดพื้นฐาน
หรือรูปแบบของหลักสูตร ”
สันต์ ธรรมบำรุง (2527: 92) ได้กล่าวถึงความหมายของการพัฒนาหลักสูตรไว้ว่าการพัฒนาหลักสูตร
(curriculum development) จะมีความหมายครอบคลุมถึงการสร้างหลักสูตรการวางแผนหลักสูตรการปรับปรุงหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรซึ่งเป็นการปรับปรุงคุณภาพของหลักสูตรให้ดีขึ้นทั้งระบบ
ตั้งแต่จุดมุ่งหมาย การเรียนการสอน การใช้สื่อการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล
เซเลอร์
และอเล็กซานเดอร์ (Saylor and
Alexander) ให้ความหมายว่า “ การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง
การจัดทำหลักสูตรเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น
หรือเป็นการจัดทำหลักสูตรใหม่โดยไม่มีหลักสูตรเดิมอยู่ก่อน การพัฒนาหลักสูตร
อาจหมายรวมถึงการสร้างเอกสารอื่น ๆ สำหรับนักเรียนด้วย ”
บุญมี เณรยอด (2531:18) กล่าวว่าการพัฒนาหลักสูตร
หมายถึง การปรับปรุงโครงการที่ประมวลความรู้และประสบการณ์ทั้งหลาย
เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้ดีขึ้นให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพสังคมและเพื่อบรรลุตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้
สวัสดิ์ จงกล (2539: 19)
ได้ให้ความหมายว่าการพัฒนาหลักสูตร คือ การเกี่ยวข้องกับการวางแผนพัฒนาหรือคิดประสบการณ์เรียนรู้ต่าง
ๆ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมหรือดียิ่งขึ้น
วิชัย วงษ์ใหญ่
(2537:
12) ได้ให้แนวคิดว่า หลักสูตร คือ
มวลประสบการณ์ทั้งปวงที่จัดให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ครบถ้วนตามมาตรฐานคุณภาพสากล
มาตรฐานความเป็นชาติไทยและมาตรฐานที่ชุมชนท้องถิ่นต้องการ
ไทเลอร์ (Tyler. 1949:
79) ได้สรุปว่าหลักสูตรเป็นสิ่งที่เด็กจะต้องเรียนรู้ทั้งหมด
โดยมีโรงเรียนเป็นผู้วางแผนและกำกับเพื่อให้บรรลุถึงจุดหมายของการศึกษา
สังเคราะห์ความหมายการพัฒนาหลักสูตรของ
กันยกานต์ บุตรศรีสวย
กันยกานต์
บุตรศรีสวย กล่าวไว้ว่า “การพัฒนาหลักสูตรหมายถึง
การเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงเพื่อให้ได้ผลดียิ่งขึ้นและบรรลุจุดมุ่งหมายอันใหม่ที่วางไว้เป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบหรือเปลี่ยนแปลงทั้งหมด
ตั้งแต่จุดมุ่งหมายของการสอน วิธีการเรียนการสอน รวมถึงการประเมินผล
เป็นการวางแผนพัฒนาหรือคิดประสบการณ์เรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและดียิ่งขึ้น”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น