บทที่ 3 ข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตร
ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร
ในอดีตการพัฒนาหลักสูตรในระดับต่างๆ
มักใช้ข้อมูลพื้นฐานประกอบการพิจารณาค่อนข้างน้อย
แต่ให้ความสำคัญกับข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงเฉพาะด้านเนื้อหาในวิชาต่างๆนำมาบรรจุไว้ในหลักสูตรและละเลยข้อมูลทางด้านศีลธรรม
จริยธรรม และสภาพทางสังคม การเปลี่ยนแปลงทางสังคม และแนวโน้มสภาพสังคมในอนาคต
ทำให้การศึกษาของชาติที่ผ่านมาไม่สามารถช่วยให้คนไทยหลุดพ้นจากความฟุ่มเฟือย
การยึดถือค่านิยมผิดๆ ในการดำรงชีวิตที่ผิดๆ ไม่ช่วยให้การว่างงานลดลง
ไม่ช่วยให้แก้ปัญหาอาชญากรรมหมดไป ประเทศยังคงมีการฉ้อราษฎร์บังหลวง ยังมีคนไทยที่พึ่งพาตนเองไม่ได้
ยังมีความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพยากร เพราะฉะนั้นในการพัฒนาหลักสูตรระดับต่างๆ
ในอนาคตจะต้องศึกษาข้อมูลพื้นฐานในเรื่องต่างๆ จากหลายๆ แหล่งและจากบุคคลหลายๆ
ฝ่ายเพื่อให้ได้ข้อมูลที่แท้จริงมาพัฒนาหลักสูตร
สามารถพัฒนาผู้เรียนให้เจริญเติบโตทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และอารมณ์
เป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบต่อตนเองและประเทศชาติ
หรือกล่าวโดยสรุปคือสามารถใช้หลักสูตรเป็นเครื่องมือในการสร้างสังคมใหม่ในทิศทางที่ถูกต้องได้
การพัฒนาหลักสูตรจำเป็นต้องศึกษา
วิเคราะห์ สำรวจ วิจัย สภาพพื้นฐานด้านต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะใช้สนับสนุน
อ้างอิงในการตัดสินใจดำเนินการต่างๆ เพื่อให้ได้หลักสูตรที่ดี
สามารถพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถ
และทัศนคติที่นำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมได้
การพัฒนาหลักสูตรเป็นงานที่มีขอบเขตกว้างขวางมากการที่จัดหลักสูตรให้มีคุณภาพนั้นผู้พัฒนาหลักสูตรต้องศึกษาข้อมูลหลายๆด้านไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้เรียนข้อมูลเกี่ยวกับสังคม
หรือข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ
เพื่อที่ให้ได้ข้อมูลที่สมจริงที่สุดเพราะข้อมูลเหล่านี้จะช่วยนักพัฒนาหลักสูตรในเรื่องต่างๆ
คือ
1. ช่วยให้มองเห็นภาพรวมว่า
ในการจัดทำหลักสูตรนั้นจำเป็นต้องคำนึงถึงสิ่งใดบ้างและสิ่งต่างๆ
เหล่านั้นมีอิทธิพลต่อหลักสูตรอย่างไร
2. ช่วยให้สามารถกำหนดองค์ประกอบของหลักสูตรได้อย่างเหมาะสม
เช่น การกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร และการกำหนดเนื้อหารายวิชา ฯลฯ
3. ช่วยให้สามารถกำหนดยุทธศาสตร์การเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม
และมีประสิทธิภาพ
4. ช่วยเพิ่มพูนความรู้และทักษะในการออกแบบและพัฒนาหลักสูตรอันจะส่งผลให้การดำเนินการในอนาคตประสบผลดียิ่งขึ้น
ข้อมูลต่างๆ
ที่นำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรนั้น นักการศึกษาทั้งต่างประเทศ
และนักการศึกษาไทย ได้แสดงแนวทางไว้ดังนี้
เซย์เลอร์
และอเล็กซานเดอร์ (Saylor and Alexander
,1974:102-103) กล่าวถึงข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรว่า
1.
ข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้เรียน
2.
ข้อมูลเกี่ยวกับสังคมซึ่งสนับสนุนโรงเรียน
3. ข้อมูลเกี่ยวกับธรรมชาติ
และลักษณะของกระบวนการเรียนรู้
4.
ความรู้ที่ได้สะสมไว้และความรู้ที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้แก่นักเรียน
ทาบา
(Taba,
1962: 16-87) ได้กล่าวว่า
การพัฒนาหลักสูตรโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์จะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
1.
สังคมและวัฒนธรรม
2.
ผู้เรียนและกระบวนการเรียน
3.
ธรรมชาติของความรู้
ไทเลอร์
(
Tyler,
1949:1-43) กล่าวถึงสิ่งที่ควรพิจารณาในการสร้างจุดมุ่งหมายของการศึกษา
คือ
1.
ข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้เรียน ซึ่งได้แก่ ความต้องการของผู้เรียน
และความสนใจของผู้เรียน
2.
ข้อมูลจากการศึกษาชีวิตภายนอกโรงเรียน
3.
ข้อมูลที่ได้จากข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ
4.
ข้อมูลทางด้านปัญญา
5.
ข้อมูลทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้
จากการรายงานของคณะกรรมการวางพื้นฐานการปฏิรูปการศึกษา
(2518:20-50)
ได้กำหนดข้อมูลต่างๆ ในการกำหนดจุดมุ่งหมายทางการศึกษา และในการจัดการศึกษาของประเภทดังนี้
1.
สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ
2.
สภาพแวดล้อมทางประชากร
3.
สภาพแวดล้อมทางสังคม
4.
สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ
5.
สภาพแวดล้อมทางการเมือง
6.
การปกครองและการบริหาร
7.
สภาพแวดล้อมทางศาสนาและวัฒนธรรม
8.
สภาพของสื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
กาญจนา
คุณารักษ์ ( 2521: 23-36 ) กล่าวถึงข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรไว้ดังนี้
1.
ตัวผู้เรียน
2. สังคมและวัฒนธรรม
3.
ธรรมชาติและคุณสมบัติของการเรียนรู้
4.
การสะสมความรู้ที่เพียงพอและเป็นไปได้เพื่อการให้การศึกษา
ธำรง
บัวศรี (2532:4) กล่าวถึงข้อมูลต่างๆ ในการพัฒนาหลักสูตรไว้ดังนี้
1.
พื้นฐานทางปรัชญา
2.
พื้นฐานทางสังคม
3.
พื้นฐานทางด้านจิตวิทยา
4.
พื้นฐานทางความรู้และวิทยาการ
5.
พื้นที่ทางเทคโนโลยี
6.
พื้นฐานทางประวัติศาสตร์
สงัด
อุทรานันท์ (2532 : 46) กล่าวถึงพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรไว้ดังนี้
1.
พื้นฐานทางปรัชญา
2.
ข้อมูลทางสังคมและวัฒนธรรม
3.
พื้นฐานเกี่ยวกับพัฒนาการของผู้เรียน
4.
พื้นฐานเกี่ยวทฤษฎีการเรียนรู้
5.
ธรรมชาติของความรู้
สุมิตร
คุณานุกร (2520 : 10) กล่าวถึงข้อมูลต่างๆ ในการพัฒนาหลักสูตรจำแนกตามแหล่งที่มาได้ 6 ประการ คือ
1.
ข้อมูลทางปรัชญา
2.
ข้อมูลที่ได้จากนักวิชาการแต่ละสาขา
3.
ข้อมูลที่ได้จากจิตวิทยาการเรียนรู้
4.
ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาสังคมของผู้เรียน
5.
ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
6.
ข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการทางเทคโนโลยี
สาโรช
บัวศรี (2514 : 21-22) ได้กล่าวว่า ในการจัดการศึกษาหรือจัดหลักสูตรต้องอาศัยพื้นฐานหลัก 5 ประการ คือ
1.
พื้นฐานทางปรัชญา
2.
พื้นฐานทางจิตวิทยา
3.
พื้นฐานทางสังคม
4.
พื้นฐานทางประวัติศาสตร์
5.
พื้นฐานทางด้านเทคโนโลยี
จะเห็นได้ว่าข้อมูลที่นำมาศึกษาเพื่อพัฒนาหลักสูตรมีมากมายหลายด้านสำหรับประเทศไทยควรจัดลำดับข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญในด้านต่างๆ
ดังต่อไปนี้
1.
สังคมและวัฒนธรรม
2.
เศรษฐกิจ
3.
การเมืองการปกครอง
4.
สภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาในสังคม
5.
พัฒนาการทางเทคโนโลยีสภาพสังคมในอนาคต
6.
บุคคลภายนอกและนักวิชาการแต่ละสาขา
7.
โรงเรียน ชุมชน หรือสังคมที่โรงเรียนตั้งอยู่
8.
ประวัติศาสตร์การศึกษาและหลักสูตร
9.
ธรรมชาติของความรู้
10.
ปรัชญาการศึกษา
11.
จิตวิทยา
ข้อมูลพื้นฐานทางด้านการเมืองการปกครอง
การเมืองการปกครองเป็นที่เกี่ยวกับการจัดระเบียบการอยู่ร่วมกันในสังคมหมู่มากจำเป็นต้องมีระเบียบแบบแผนหรือกติกาต่างๆ
สำหรับสมาชิกในสังคมยึดถือเป็นแนวปฏิบัติต่อกันเพื่อความสงบเรียบร้อยและการอยู่รวมกันอย่างสันติ ดังนั้น
การเมืองการปกครองจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับบทบาท
หน้าที่สิทธิ และความรับผิดชอบที่ทุกคนพึงมีต่อสังคมและประเทศชาติ
การเมืองการปกครองมีความสัมพันธ์กับการศึกษา
ในฐานะที่การศึกษามีหน้าที่ผลิตสมาชิกที่ดีให้แก่สังคมให้อยู่ในระบบการปกครองประเทศชาติ
ช่วยให้ผู้เรียนทราบว่าตนมีสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างไร
และควรแสดงแนวคิดปฏิบัติตนอย่างไรหลักสูตรของประเทศต่างๆ
จึงควรบรรจุเนื้อหาวิชาและประสบการที่จะปลูกฝังให้ประชากรอยู่ร่วมกันในสังคมได้ด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสันติสุข
ข้อมูลที่เกี่ยวกับการเมืองการปกครอง ที่ควรจะนำมาเป็นเนื้อหาประกอบการพิจารณาในการพัฒนาหลักสูตรก็คือ ระบบการเมืองและระบบการปกครอง นโยบายของรัฐและรากฐาน ของประชาธิปไตย
3.1 ระบบการเมืองการปกครอง
เนื่องจากการศึกษาเป็นเครื่องมืออันหนึ่งของสังคม ดังนั้น
การศึกษาระบบการเมืองการปกครองจึงแยกกันไม่ออก
หลักสูตรของประเทศต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับประถมศึกษาซึ่งเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะบรรจุเนื้อหาสาระของระบบการเมืองการปกครองไว้
เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนอยู่ร่วมกันใจสังคมได้ด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย
ในบางประเทศที่ต้องการปลูกฝังอุดมการณ์ทางการเมืองให้แก่ประชาชน เพราะฉะนั้นในการพัฒนาหลักสูตรควรเลือกเนื้อหาวิชาประสบการณ์การเรียนรู้
และการจัดให้มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับระบบการเมืองการปกครองที่ต้องการปลูกฝัง
3.2
นโยบายของรัฐ
เนื่องจากการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของระบบสังคมจึงมีความจำเป็นต้องสอดคล้องกับระบบอื่นๆ ในสังคมการที่จะทำให้ระบบต่างๆ
สามารถเกื้อหนุนส่งเสริมซึ่งกันและกันจึงจำเป็นต้องมีการประสานสัมพันธ์ระหว่างระบบเหล่านั้น
ด้วยเหตุนี้รัฐบายจึงมีนโยบายแห่งรัฐเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานของระบบต่างๆ ให้มีความต่อเนื่องและสอดคล้องซึ่งกันและกัน
นโยบายของรัฐที่เห็นได้ชัดเจนคือ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาการศึกษา
ในการพัฒนาหลักสูตรควรจะได้พิจารณานโยบายของรัฐด้วย เพื่อที่จะได้จัดการศึกษาให้สอดคล้องกัน
3.3 รากฐานของประชาธิปไตย
จากการที่ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาสิทธิราชย์มาเป็นระบบอบประชาธิปไตยใน
พ.ศ. 2475 นั้น ควรรู้ความเข้าใจตลอดจนความรู้สึกนึกคิดต่างๆ
เกี่ยวกับประชาธิปไตยในสังคมไทยยังไม่เพียงพอ
หลักสูตรในฐานะที่เป็นเครื่องมือสำหรับพัฒนาคนควรที่จะวางรากฐานที่เกี่ยวกับประชาธิปไตยให้แก่สังคม
เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจให้ถูกต้องซึ่งจะสร้างสรรค์ให้ทุกคนอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข
และไม่มีการเอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน
นอกจากนี้การจัดการเรียนการสอน
จึงควรมุ่งเน้นพฤติกรรมประชาธิปไตยด้วย สำหรับประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยมานานแล้ว
แต่ทางปฏิบัติเราต้องยอมรับว่ายังไม่สมบูรณ์ ดังจะเห็นได้จากการราษฎรส่วนใหญ่ยังไม่รู้ถึงสิทธิหน้าที่ของตนต่อรัฐ
ไม่รู้ว่าตนเองมีความสำคัญมีส่วนมีเสียงในการปกครอง
ไม่รู้ว่าการเมืองมีส่วนสัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของตน
ไม่เห็นความจำเป็นในการเลือกตั้งเป็นต้น
การศึกษาควรมีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงแก้ไข การจัดการเรียนการสอนควรเน้นเรื่องความรับผิดชอบต่อบ้านเมือง
ให้ประชาชนรู้หน้าที่ของตนในระบอบประชาธิปไตย
ให้สำนึกว่าการเมืองและการปกครองเป็นเรื่องของทุกคนในสังคม
ทั้งที่ศึกษาอยู่ในระบบและนอกระบบ และ/
หรือจบการศึกษาแล้วได้ศึกษาและนำไปปฏิบัติจริงเพื่อสอดคล้องกับนโยบายที่ว่าการศึกษาและ/
หรือจบการศึกษาแล้วได้ศึกษาคือ กระบวนการต่อเนื่องตลอดชีวิต
เมื่อเป็นเช่นการจัดหลักสูตรให้ประชาชนเข้าใจเกี่ยวกับการเมืองการปกครองจึงกระทำได้หลายรูปแบบเพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้
มีจิตสำนึกในความร่วมมือ
เข้าใจบทบาทตนเองในด้านการเมืองการปกครองอย่างแท้จริง
เพื่อเป็นการวางรากฐานทางด้านประชาธิปไตย
การจัดการศึกษาให้เหมาะสมกับระบบการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตย ควรจัดตามลำดับดังนี้
1.
การจัดการศึกษาให้เท่าเทียมทั่วถึง
2.
ให้อำนาจการจัดการศึกษากระจายในท้องถิ่น
3.
ให้เสรีภาพและเสถียรภาพแก่บุคคล ให้โอกาสแสดงความคิดเห็น
4.
การเรียนการสอนควรส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย
ให้โอกาสผู้เรียนแสวงหาความรู้
5.
ส่งเสริมการแก้ไขปัญหาตนเอง
6.
จัดหลักสูตรให้ยืดหยุ่นได้ง่าย
7.
เน้นวิชามนุษย์สัมพันธ์และจริยธรรมเป็นพิเศษ
นอกจากนั้นการปลูกฝังอบรมสั่งสอนนักเรียน
ก็มีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ประชาธิปไตยของไทยมีความเป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้นด้วยวิธีการดังนี้
1.
ชี้ให้เห็นประโยชน์ประชาธิปไตยโดยการให้คำแนะนำและปฏิบัติ
2.
สร้างนิสัยให้มีความกระตือรือร้น สนใจเหตุการณ์บ้านเมือง
3.
ปลูกฝังการมีวินัยและการเคารพสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น
4.
ฝึกการเคารพกฎเกณฑ์ต่างๆ อย่างเข้มผู้เข้มงวด
5.
กระตุ้นและปลูกฝังให้มีความตั้งใจเรียน ซื่อสัตย์ รับผิดชอบต่อตนเอง
ครอบครัวและประเทศชาติ
6.
ฝึกให้ความสนใจและร่วมกันพิจารณาปัญหาต่าง ของสังคมและหาทางแก้ไข
7.
หาโอกาสให้ให้ความร่วมมือประกอบกิจกรรมเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม
8.
ช่วยแก้ไขค่านิยมที่ไม่เหมาะสมในสังคมและสร้างค่านิยมที่ดีและเหมาะสม
9.
ปลูกฝังทัศนคติที่ว่าการเมืองเป็นเรื่องการให้ความร่วมมือ
การเสียสละ และการช่วยชาติเพื่อบุคคลรุ่นใหม่จะได้เป็นนักการเรียนที่ดี
10.
ให้ความรู้และกระตุ้นให้สนใจการเมืองโดยคำนึงถึงหลักการ วิธีการ
สิทธิหน้าที่ในฐานะพลเมืองของประเทศ
11.
ปลูกฝังให้มีความพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมืองทั้งในระดับโรงเรียน
ท้องถิ่น และประเทศชาติ
12.
ปลูกฝังให้ผู้เรียนมีแนวคิดว่าทุกคนควรมีบทบาททางการเมือง
และการเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกคนทั้งทางตรงและทางอ้อม
13.
เน้นให้เห็นความสำคัญของการใช้สิทธิ์เลือกตั้ง
จากตัวอย่างดังกล่าวพอจะเป็นแนวทางกำหนดเนื้อหา
กิจกรรมการจัดการเรียนการสอนและประสบการณ์เรียนรู้ไว้เป็นหลักสูตร เพื่อให้ผู้เรียนที่จบการศึกษาเป็นผลเมืองที่มีคุณภาพสอดคล้องกับระบบการเมืองการปกครองของประเทศ
ข้อมูลพื้นฐานทางสภาพทางสังคมในอนาคต
จากสภาพการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ
การเมือง สังคม
และความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยในปัจจุบัน ชี้ให้เห็นว่าในอนาคตประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมมากขึ้น
ซึ่งจะเป็นผลให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่หลากหลายสาขา
จากสภาพการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงไปดังนี้
1.
มีการส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดย่อม
รวมทั้งอุตสาหกรรมท้องถิ่นเพิ่มขึ้น
2.
งานอาชีพอิสระมีแนวโน้มจะมีความสำเร็จมากขึ้นในอนาคตทั้งนี้เนื่องจากลักษณะการผลิตอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มักเป็นการผลิตใช้ทุนมากกว่าใช้แรงงาน
3.
ในอนาคตสภาพสังคมจะมีการแข่งขันและต่อสู้เพื่ออยู่รอดเฉพาะตัวเพราะที่ดินทำกินไม่สามารถขยายเพิ่มให้สมดุลกับประชากรได้
ทำให้เกิดการเข้ามาทำงานในเมืองมากขึ้น
และภาคอุตสาหกรรมก็ไม่สามารถรองรับแรงงานได้ทั้งหมด
เพราะฉะนั้นการแข่งขันเพื่อความอยู่รอดมีมากขึ้น
4.
การประพฤติปฏิบัติของคนไทยจะเปลี่ยนไปจากวัฒนธรรมดั้งเดิมซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
สังคม การเมือง ความเจริญด้านเทคโนโลยีและการหลั่งไหลเข้ามาของวัฒนธรรมตะวันตก
ซึ่งมีผลกระทบต่อคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และสิ่งแวดล้อมของสังคมไทย
5.
ในอนาคตคาดว่าการดำเนินชีวิตของคนไทยประสบกับปัญหา ทั้งในด้านสุขภาพและการประกอบอาชีพมากขึ้น
ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจและการเพิ่มของประชากร
จากสภาพการเปลี่ยนแปลงในลักษณะต่างๆ
ดังกล่าวแล้ว หลักสูตรในอนาคตต้องมีบทบาทดังต่อไปนี้
1.
เตรียมกำลังคนให้เหมาะสมกับงานด้านอุตสาหกรรมขนาดย่อย
และอุตสาหกรรมท้องถิ่น โดยเตรียมกำลังคนที่มีคุณภาพทางด้านความรู้ทักษะ
และลักษณะนิสัย ตลอดจนเจตคติที่ดีต่อการทำงานอาชีพ
2.
ส่งเสริมอาชีพอิสระและเตรียมคนให้เห็นช่องทางในการประกอบอาชีพอิสระมากขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการว่างงานของประชาชนส่วนหนึ่ง
3.
การศึกษาในอนาคตควรเน้นไปที่การสร้างค่านิยมด้านความสามัคคีในการอยู่ร่วมกัน
โดยให้ทุกคนรู้จักเสียสละ มุ่งทำประโยชน์ให้แก่สังคมเป็นส่วนใหญ่
และหาจุดยืนที่เป็นที่ยอมรับ
4.
เตรียมคนให้เห็นคุณค่าของการดำรงรักษาวัฒนธรรมไทย
รู้จักผสมผสานวัฒนธรรมดั่งเดิมกับวัฒนธรรมใหม่ เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติตน
มุ่งพัฒนาตนเองและสร้างสรรค์ความเจริญทางสังคม ตลอดจนมุ่งพัฒนาจิตใจให้ยึดมั่นในศาสนาและหลักธรรม
มีคุณธรรมจริยธรรมอันจะนำไปสู่การมีชีวิตที่สงบสุข
5.
เตรียมฝึกคนให้สามารถแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพและปัญหาต่างๆ
ในการดำรงชีวิตพร้อมทั้งสามารถเลือกแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
ข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวกับโรงเรียน
ชุมชนหรือสังคมที่โรงเรียนตั้งอยู่
ข้อมูลที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ควรศึกษาวิเคราะห์
คือข้อมูลที่เกี่ยวกับสภาพทั่วไปของโรงเรียน เช่น
ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนครูในโรงเรียน
จำนวนอาคารสถานที่หรือห้องเรียนจำนวนอุปกรณ์และศักยภาพของโรงเรียนมากที่สุด
นอกจากนี้ข้อมูลเกี่ยวกับชุมชนและสภาพสังคมที่โรงเรียนตั้งอยู่ก็เป็นข้อมูลที่ผู้จัดทำหลักสูตรหรือพัฒนาหลักสูตรจะต้องศึกษา
เช่น สภาพแวดล้อมและสภาพภูมิศาสตร์ที่ตั้ง
หรือสังคมโดยทั่วไปของผู้ใช้หลักสูตรหรือโรงเรียนนั้นเป็นอย่างไร
การสนับสนุนหรือความร่วมมือของชุมชนสังคมที่มีต่อโรงเรียนเป็นอย่างไร
ข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการจัดทำหลักสูตร เช่น การกำหนดวิชาเรียนต่างๆ
เพราะบางรายวิชาสภาพชุมชนและสังคมไม่สามารถเอื้ออำนวยหรือส่งเสริมเท่าที่ควร
การศึกษาก็ไม่บรรลุผล เพราะฉะนั้นการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียน ชุมชน และสังคมที่โรงเรียนตั้งอยู่จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่ผู้จัดทำหลักสูตรต้องศึกษา
เพื่อให้ได้ข้อมูลมาจัดทำหลักสูตรที่โรงเรียนต่างๆ
สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งข้อมูลต่างๆ
เหล่านี้สามารถค้นคว้าและหาข้อมูลได้จากเอกสารในการรายงานต่างๆ การสำรวจ สอบถาม
และการสัมภาษณ์บุคคลต่างๆ ตลอดจนข้อมูลเกี่ยวข้อง เช่น คนในชุมชน ผู้บริหาร ครู
นักเรียน ผู้ปกครอง ผู้ที่สำเร็จการศึกษา
ซึ่งการศึกษาข้อมูลดังกล่าวจำเป็นสำหรับการพัฒนาหลักสูตรทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติ
เพื่อให้ได้หลักสูตรที่ทุกโรงเรียนสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยเฉพาะหลักสูตรระดับท้องถิ่นข้อมูลดังกล่าวมีความสำคัญอย่างยิ่ง
ผู้พัฒนาหลักสูตรระดับท้องถิ่นจะต้องให้ความสำคัญเพื่อที่จะเสริมสร้างได้หลักสูตรที่เหมาะสมและตอบสนองต่อท้องถิ่นนั้นๆ
ได้อย่างเต็มที่
ข้อมูลพื้นฐานทางประวัติศาสตร์และการศึกษาหลักสูตรเดิม
ประวัติศาสตร์มีความสำคัญต่อชีวิตและการกระทำในปัจจุบัน
ดังคำกล่าวที่ว่า ปัจจุบันผลของอดีตและอนาคตเป็นผลปัจจุบัน
เพราะฉะนั้นข้อมูลทางประวัติศาสตร์
และการศึกษาหลักสูตรในอดีตย่อมมีประโยชน์ต่อการจัดการศึกษาและการจัดทำหลักสูตรในปัจจุบัน
การศึกษาไทยกับประวัติศาสตร์ไทยมีความผูกพันกันอย่างแน่นแฟ้น
เพราะเหตุการณ์ในชาติย่อมมีผลกระทบต่อการศึกษาเสมอ
นักการศึกษาและนักพัฒนาหลักสูตรจึงจำเป็นต้องมีความรู้หรือข้อมูลศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชาติ
รวมทั้งประวัติศาสตร์ควบคู่กันไป
เพราะเราต้องอาศัยพื้นฐานทางประวัติศาสตร์มาช่วยในการจัดการศึกษาและพัฒนาหลักสูตรในปัจจุบัน
การศึกษาข้อมูลทางประวัติศาสตร์จะทำให้เราเห็นภาพรวมความเจริญของชาติทั้งทางด้านเศรษฐกิจ
สภาพแวดล้อม การเมือง และวัฒนธรรมในอดีตที่ผ่านมา รวมทั้งผลกระทบที่มีต่อการศึกษา
ซึ่งข้อมูลในส่วนนี้นักพัฒนาหลักสูตรต้องวิเคราะห์ว่าการจัดการศึกษาหรือการจัดหลักสูตรอย่างนั้นในสภาพเศรษฐกิจ
สังคม และการเมืองในขณะนั้นมีความถูกต้องและเหมาะสมมากน้อยเพียงใด
ส่วนใดเป็นลักษณะของการจัดการศึกษาหรือจัดหลักสูตรที่ดี ส่วนใดเป็นลักษณะการจัดทำหลักสูตรที่ผิดพลาดแก่ผู้จัดทำหลักสูตร
การวิเคราะห์อดีตจะช่วยเพิ่มพูนความสามารถในการวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน
การที่ต้องมีการวิเคราะห์หลักสูตรเก่าเนื่องจากในการพัฒนาหลักสูตรนั้น เราตั้งต้นจากสิ่งที่เรามีอยู่หรือใช้อยู่
จุดประสงค์ของการวิเคราะห์ก็เพื่อตรวจสอบหลักสูตรที่ใช้อยู่นั้นดีหรือไม่อย่างไร
อะไรที่ดีอยู่แล้ว มีอะไรที่บกพร่อง ล้าสมัย
หรือไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป จุดเด่น
จุดด้อย ข้อดี ข้อบกพร่องขององค์ประกอบต่างๆ
ของหลักสูตรทั้งในแง่ของประสิทธิภาพของการนำไปใช้ รวมทั้งความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง
ข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลในอดีตที่มีคุณค่าแก่การจัดทำหรือพัฒนาหลักสูตรปัจจุบัน
ในการศึกษาประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์การศึกษาควบคู่กันไปนั้น ธำรง
บัวศรี (2532:128) ได้แสดงความคิดเห็นว่า
หากลองตั้งคำถามต่างๆ แล้วลองพิจารณาหาคำตอบจะช่วยให้เห็นความเหมาะสมของการจัดการศึกษาในขณะนั้น
ตัวอย่างคำถาม เช่น ปัญหาเศรษฐกิจสังคม
และการเมืองในขณะนั้นเป็นอย่างไร
การจัดการศึกษามีจุดมุ่งหมายจะแก้ไขปัญหาดังกล่าวหรือไม่
วิธีการที่ช่วยแก้ไขปัญหาช่วยได้หรือไม่ การจัดการศึกษามีส่วนช่วยให้ยกระดับเศรษฐกิจหรือทำให้ระบบสังคมดีขึ้นหรือไม่
มีสิ่งชี้บอกใดหรือไม่
ที่แสดงว่าหลักสูตรได้คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลหรือพัฒนาการของผู้เรียน
หลักสูตรได้ส่งเสริมการถ่ายทอดวัฒนธรรมหรือปรับปรุงวัฒนธรรมอย่างไร
หลักสูตรมีการส่งเสริมจิตสำนึกในการช่วยตนเองหรือไม่ เพราะฉะนั้นถ้านักพัฒนาหลักสูตรได้ศึกษาประวัติศาสตร์
และนำประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์หาคำตอบจากคำถามเหล่านี้หรือคำถามอื่นที่มีประโยชน์เหมาะสมที่จะช่วยให้ได้คำตอบที่เป็นประโยชน์และเป็นข้อมูลในการจัดการศึกษาและพัฒนาหลักสูตรในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น