วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2562

ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์


ทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์
อับราฮัม มาสโลว์ เชื่อว่าโดยธรรมชาติแล้วมนุษย์ใฝ่ดี ปรารถนาจะใช้พลังความรู้ ความสามารถเพื่อนำตัวเองไปสู่ชีวิตที่เจริญสมความปรารถนา ดังนั้นพฤติกรรมต่างๆของมนุษย์จึงเป็นผลมาจากการพยายามที่จะตอบสนองความต้องการตามลำดับขั้นอันได้แก่
-          ความต้องการทางร่างกาย เป็นความต้องการเพื่อความอยู่รอดของชีวิต
-          ความต้องการความปลอดภัย ทรัพย์สินและชีวิต
-          ความต้องการความรักและความต้องการเป็นเจ้าของ เป็นความต้องการที่ต้องการเป็นที่รักของผู้อื่น
-          ความต้องการภาคภูมิใจ เกียรติยศและศักดิ์ศรี
-          ความต้องการที่จะตระหนักถึงความสามารถสูงสุดที่แท้จริงของตนเอง
หลักการและแนวคิดที่สำคัญ
1. การจูงใจเป็นเครื่องมือสำคัญที่ผลักดันให้บุคคลปฏิบัติ กระตือรือร้น และความปรารถนา ที่จะร่วมกิจกรรมต่าง ๆ  โดยที่การเรียนรู้เป็นผลจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า สิ่งเร้าในกิจกรรมการเรียนการสอนจึงต้องอาศัยการจูงใจ
2. ความต้องการทางกาย อารมณ์ และสังคม เป็นแรงจูงใจที่สำคัญต่อกระบวนการเรียนรู้ ของผู้เรียน ผู้สอนจึงควรหาทางเสริมแรงหรือกระตุ้นโดยปรับกิจกรรมการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับความต้องการเหล่านั้น
3. การเลือกกิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับความสนใจ ความสามารถความพึงพอใจแก่ผู้เรียน เพราะจะทำให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จได้ง่าย มีแรงจูงใจสูงขึ้น และมีเจตคติต่อการเรียนเพิ่มขึ้น
4. การจูงใจผู้เรียนให้มีความตั้งใจและสนใจในการเรียนย่อมขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพของผู้เรียน แต่ละคน ซึ่งผู้สอนจะต้องทำความเข้าใจลักษณะความต้องการของผู้เรียนแต่ละระดับแต่ละสังคม แต่ละครอบครัว แล้วจึงพิจารณากิจกรรมการเรียนที่จะจัดให้สอดคล้องกัน
5. ผู้สอนควรจะพิจารณาสิ่งล่อใจ หรือรางวัล รวมทั้งกิจกรรมการแข่งขันให้รอบคอบและ เหมาะสม เพราะเป็นแรงจูงใจที่มีพลังรวดเร็ว ซึ่งให้ผลทั้งทางด้านการเสริมสร้าง และการทำลายก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และวิธีการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น