รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กที่ได้ผล
สรุปมาเป็น ๗
รูปแบบ ได้แก่
รูปแบบที่
๑ การจัดการเรียนรู้แบบรวมชั้นเรียน
ประกอบด้วยการจัดการเรียนรู้แบบช่วงชั้นและการเรียนรู้แบบคละชั้น
โดยวิธีการยุบชั้นเรียน ให้โรงเรียนที่มีครูไม่ครบชั้นสามารถจัดการเรียนการสอนได้โดยไม่ทิ้งห้องเรียน
ซึ่งโรงเรียนสามารถปรับใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้อง
และเหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน โดยสามารถเรียนรู้รูปแบบนี้ได้ที่
โรงเรียนบ้านย่านยาว อ.คีรีรัฐนิคม สพท.สุราษฎร์ธานี เขต ๒,
โรงเรียนบ้านโคกสว่าง อ.ตาคลี สพท.นครสวรรค์ เขต ๓ และ
โรงเรียนบ้านทุ่งหัวพรหม อ.เมือง สพท. นครปฐม เขต ๑
รูปแบบที่
๒ การบูรณาการหลักสูตร
เป็นการนำความรู้มารวบรวมประมวลไว้ในหน่วยเดียวกัน
สำหรับโรงเรียนที่มีครูไม่ครบชั้นมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาที่เป็นอยู่รวมทั้งการนำหลักสูตรไปใช้ให้บังเกิดผลตามที่ต้องการ
สำหรับการบูรณาการเนื้อหารายวิชา สามารถดำเนินการได้โดยศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตร
จากนั้นนำวัตถุประสงค์ตลอดจนเนื้อหาการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มวิชาที่สอดคล้องกันมาเชื่อมโยง
สู่การจัดทำหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณา แล้วนำมากำหนดกิจกรรม
เพื่อให้สามารถจัดการเรียนรู้ ได้ครั้งเดียวพร้อมกันในแต่ละช่วงชั้น
โดยสามารถเรียนรู้รูปแบบนี้ได้ที่
สพท.ประจวบคีรีขันธ์
เขต ๒,
โรงเรียนบ้านเกาะลานและโรงเรียนบ้านคลองไม้แดง สพท.ตาก เขต ๑,
โรงเรียนบ้านสายน้ำทิพย์ สพท.นครสวรรค์ เขต ๓ และ โรงเรียนบ้านตะพุนทอง
อ.เมือง สพท.ระยอง เขต ๑
รูปแบบที่
๓ ความร่วมมือจากชุมชน
เพื่อแก้ปัญหาที่สำคัญและเร่งด่วนของทุก สพท. ในเรื่องการขาดแคลนครู
งบประมาณไม่เพียงพอ และขาดสื่อเทคโนโลยี โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้ปกครอง
กรรมการสถานศึกษา องค์กรท้องถิ่น เครือข่ายสถานศึกษา
ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย
ซึ่งเป็นแรงสนับสนุนให้โรงเรียนขนาดเล็กได้รับการพัฒนาต่อยอดทั้งในด้านการบริหารจัดการ
งบประมาณ ตลอดจนทรัพยากรต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยสามารถเรียนรู้รูปแบบนี้ได้ที่
สพท.กาญจนบุรี
เขต ๑,
โรงเรียนวัดสามทอง อ.เมือง สพท.สงขลา เขต ๑,โรงเรียนบ้านลานคา
อ.บ้านไร่ สพท.อุทัยธานี และโรงเรียนบ้านหนองหัวช้าง อ.ท่าหลวง สพท.ลพบุรี เขต ๒
รูปแบบที่
๔ การใช้ ICT ในการพัฒนาคุณภาพ
โดย สพท. หลายแห่งได้นำเทคโนโลยีมาใช้อย่างหลากหลาย เช่น รถคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่
(Mobile unit) เพื่อให้บริการนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กที่อยู่ห่างไกล
การส่งเสริมการเรียนการสอนด้วยการรับสัญญาณ การสอนทางไกลจากโรงเรียนไกลกังวลหัวหิน
เป็นต้น โดยสามารถเรียนรู้รูปแบบนี้ได้ที่
สพท.พิษณุโลก
เขต ๒,
โรงเรียนวัดสายลำโพงกลาง อ.ท่าตะโก สพท.นครสวรรค์ เขต ๓, โรงเรียนบ้านห้วยไคร้ อ.คลองหาด สพท.สระแก้ว เขต ๑
และโรงเรียนบ้านหนองจานใต้ อ.ลำทะเมนชัย สพท.นครราชสีมา เขต ๗
รูปแบบที่
๕ รูปแบบโรงเรียนเครือข่าย
เป็นการร่วมมือกันระหว่างโรงเรียนหลัก
และโรงเรียนเครือข่ายในการวางแผนการจัดการศึกษา ตลอดจนผู้บริหารและครูได้รับ
การพัฒนาจนสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยสามารถเรียนรู้รูปแบบนี้ได้ที่
สพท.เชียงใหม่
เขต ๒,
โรงเรียนวัดชัยสุวรรณ อ.เชียรใหญ่ สพท.นครศรีธรรมราช เขต ๓, โรงเรียนวัดดอนหวาย อ.สว่างอารมณ์ สพท.อุทัยธานี และ
โรงเรียนเก่าน้อยโนนรังวิทยาเสริม อ.กมลาไสย สพท.กาฬสินธุ์ เขต ๑
รูปแบบที่
๖ ผสมผสานด้วยวิธีการหลากหลาย สพท. เป็นการผสมผสานรูปแบบ
ที่ ๑-๕ ดังกล่าวข้างต้นมาดำเนินงาน นับว่าเป็นรูปแบบที่ทำให้โรงเรียนจำนวนมาก
ประสบผลสำเร็จ โดยสามารถเรียนรู้รูปแบบนี้ได้ที่
สพท. นครปฐม
เขต ๑,
โรงเรียน บ้านดอนน้ำครก อ.เมือง สพท.น่าน เขต ๑, โรงเรียนบ้านโคกถาวร อ.วานรนิวาส สพท. สกลนคร เขต ๓ และ โรงเรียนบ้านงอมมด
อ.ท่าปลา สพท.อุตรดิตถ์ เขต ๒
รูปแบบที่
๗ การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
เป็นรูปแบบที่มีผู้บริหารใช้ความรู้ ความสามารถในการบริหารจัดการสถานศึกษา
มีวิสัยทัศน์ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง
มีความเป็นประชาธิปไตยยึดหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม มีคุณธรรมจริยธรรม
เป็นที่ยอมรับของทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาตลอดจนมุ่งมั่นสร้างเครือข่ายการทำงาน
โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยสามารถเรียนรู้รูปแบบนี้ได้ที่
โรงเรียนวัดสุทธาวาส
อ.อินทร์บุรี สพท.สิงห์บุรี, โรงเรียนบ้านหมื่นเทพ
อ.หันคา สพท.ชัยนาท, โรงเรียนบ้านสงยางดอนไม้คูณ
อ.ม่วงสามสิบ สพท. อุบลราชธานี เขต ๑ และโรงเรียนบ้านจรวย อ.ลำดวน สพท.สุรินทร์
เขต ๑
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น